วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หลักการเขียนภาพการ์ตูน ตอนที่ 1

หลักการวาดการ์ตูน
อ้างถึงข้อมูลบางส่วนจาก  : ครูต๋อม,http://www.watcharina.com/board/index.php?topic=45.0














อ้างอิงจาก: http://namofree.wordpress.com/about/
--------------------------
ความหมายคำว่าการ์ตูน และแอนิเมชัน
ความหมายคำว่าการ์ตูน และแอนิเมชัน
การ์ตูน เป็นวรรณกรรมประเภทที่ถ่ายทอดความเข้าใจ ความรู้สึก ด้วยรูปภาพ ซึ่งหมายถึงภาพที่เขียนขึ้นในลักษณะต่างๆ ภาพจำลอง เป็นสิ่งจำลองของบุคคล ทำให้คนเข้าใจถึงความคิด เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ในการเขียนก็ใช้เส้นที่ไม่ต้องประณีต แต่พอมองรู้ว่าคืออะไร
แอนิเมชัน
  (Animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง โดยหลักการแล้วไม่ว่าจะสร้างภาพหรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตามเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็วตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตาหลักการเลือกการ์ตูนในการนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน
1.เลือกการ์ตูนให้เหมาะสมกับประสบการณ์ของผู้เรียน การ์ตูนที่ใช้ประกอบการสอน จะต้องเป็นการ์ตูนที่นักเรียนเข้าใจ ความหมายได้ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิม
2.เลือกการ์ตูนที่ออกแบบง่าย ๆ อาจเขียนเฉพาะเค้าหน้า ใช้เส้นไม่กี่เส้นเพียงไม่กี่เส้น ส่วนประกอบอื่นมีบ้างไม่มากนัก แต่หลักสำคัญคือต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ เมื่อเห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่าใครเป็นใคร
3.การ์ตูนที่มีสัญลักษณ์ให้ความหมายชัดเจน คนที่อ่านหนังสือพิมพ์หรือการ์ตูนเสมอ ๆ ย่อมคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ต่างๆ ที่สามารถสื่อความหมาย
ขั้นตอนการเขียนการ์ตูน
เมื่อเราสามารถกำหนดเรื่องที่จะเขียนได้แล้วต้องดำเนินขั้นตอนดังนี้
1.วางเค้าโครงเรื่องราวให้สนุกและเข้าใจ เอาไว้ล่วงหน้า
2.แบ่งสาระสำคัญของเรื่องออกเป็นเฟรมหรือส่วนย่อย ๆ ติดต่อกันตลอดเรื่อง
3.พิจารณาเพิ่มเติมหรือตัดทอนสาระสำคัญให้เหลือเฉพาะส่วนที่จำเป็นจริงๆ
4.เขียนภาพคร่าวๆ เป็นเรื่องราวติดต่อกันตามสาระสำคัญหรือส่วนย่อยๆ ที่แบ่งไว้
5.ลงมือวาดการ์ตูน โดยถือหลักการต่อไปนี้เป็นพื้นฐาน
ภาพทุกภาพต้องแสดงท่าทางให้สื่อความหมายตามท้องเรื่องต้องเป็นภาพที่ง่าย ไม่แสดงรายละเอียดมากนัก เน้นเฉพาะส่วนที่จำเป็นแต่ละภาพต้องมีจุดมุ่งหมายเดียวกันใช้คำบรรยายหรือภาษาประกอบที่กะทัดรัด แต่มีความสมบูรณ์ไม่ควรมีการพูดและโต้ตอบในภาพเดี่ยว เพราะจำทำให้ผู้ดูสับสนให้มีการเคลื่อนไหวของตัวละครในมุมต่างๆ เพื่อให้ผู้ดูมีความสนใจยิ่งขึ้นถ้าเป็นตำราเรียน ควรมีข้อแนะนำวิธีการเรียน จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ควรพิจารณาจัดลำดับให้เหมาะสม
การเขียนการ์ตูนให้มีคุณค่า ประกอบด้วยหลักต่างๆ ดังนี้
1.การเขียนภาพทำให้เข้าใจเรื่องราวได้ง่าย ไม่สับสน ภาพมีความเคลื่อนไหวเป็นภาพง่ายๆ
2.สีที่ใช้สวยงาม ชัดเจน
3.การดำเนินเรื่องน่าสนใจ ตื่นเต้นเร้าใจชวนติดตาม และแทรก สุภาษิต คติธรรม และความรู้
4.ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไฟเราะ ตัวสะกดถูกต้อง
5.ผู้เขียนมีความคิดริเริ่มไม่ลอกแบบ การ์ตูน ภาพยนตร์ โทรทัศน์
6.ช่วยส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
7.มีศิลป์ อาจเกินความจริงไปบ้าง
8.เนื่องเรื่องเหมาะสมกับวัย
หลักการเขียนการ์ตูน
1.ศึกษารูปร่างลักษณะของสิ่งที่จะเขียน คือศึกษาด้านสรีรวิทยา โดยรู้ลักษณะที่สำคัญเพียงบางส่วนที่ประกอบกันเป็นตัวคนหรือสัตว์
2.สังเกตอัตราส่วนของรูปที่จะเขียน ให้เส้นยาวบ้างสั้นบ้าง เพื่อแสดงความสูง ต่ำ อ้วน ผอม
3.ต้องสังเกตการแสดงออกของอารมณ์บนใบหน้า เพื่อให้การ์ตูนแสดงความรู้สึกออกมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น